ศาลพระภูมิ กับ ศาลเจ้าที่ แตกต่างกันอย่างไร เชิญใครมาสถิต ?

ศาลพระภูมิ

ศาลพระภูมิและศาลเจ้าที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยคุ้มครองบ้านเรือนและผู้อยู่อาศัย ที่คนไทยให้การเคารพบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล แต่มีความแตกต่างกันในด้านหน้าที่ ความเชื่อ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ภายในศาล บทความนี้จะมาช่วยให้คุณเข้าใจความแตกต่างระหว่างศาลทั้งสองประเภท เพื่อช่วยให้สามารถเลือกได้อย่างเหมาะสม

ศาลพระภูมิ

ศาลพระภูมิเป็นศาลที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สถิตของ “พระภูมิ” ซึ่งเป็นเทวดาที่ที่ได้รับหน้าที่จากพระนารายณ์ให้คอยปกปักรักษาบ้านเรือนของมนุษย์ ป้องกันอันตราย ภูตผี วิญญาณร้าย พลังงานลบ ช่วยให้ครอบครัวรักสามัคคี อยู่อย่างร่มเย็น

ลักษณะของศาลพระภูมิ

  • มีเสาเดียว นิยมตั้งบนฐาน ยกสูงขึ้นจากพื้นดิน 
  • มีลักษณะคล้ายวิมานหรือปราสาทขนาดเล็ก
  • ใช้วัสดุที่สวยงามและประณีต เช่น ไม้ แก้ว หรือปูนปั้น

 

ศาลเจ้าที่

ศาลเจ้าที่เป็นศาลที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สถิตของ “เจ้าที่เจ้าทาง” ซึ่งเป็นวิญญาณของบรรพบุรุษ หรือดวงวิญญาณที่อยู่ในพื้นที่นั้นมาก่อน คอยดูแลผืนดิน ที่ดินบริเวณนั้นๆ คนไทยเชื่อว่า ผืนดินทุกที่มีเจ้าของ เจ้าที่จะเป็นผู้ดูแลบ้านและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัย คล้ายกันกับพระภูมิ หลายๆบ้านจึงตั้งไว้คู่กัน

ลักษณะของศาลเจ้าที่

  • มี 4 เสา ตั้งอยู่ใกล้พื้นดิน เช่น วางบนแท่นเตี้ยกว่าศาลพระภูมิ
  • มีขนาดเล็กกว่าศาลพระภูมิ และออกแบบเรียบง่ายกว่า
  • มีลักษณะคล้ายศาลาหรือบ้านหลังเล็กๆ บ้านเรือนไทย

บทสรุป

แม้ศาลพระภูมิและศาลเจ้าที่จะมีจุดประสงค์หลักในการคุ้มครองและเสริมสิริมงคลเหมือนกัน แต่ศาลทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ที่สังเกตได้ง่ายๆจากจำนวนเสา และ ลักษณะของตัวศาล รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อัญเชิญมาสถิต ก็เป็นคนะท่านกันตามความเชื่อ ดังนั้น หากจะตั้งศาลที่บ้าน ต้องเลือกให้ถูกต้อง เพื่อช่วยในการเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตผู้อยู่อาศัย และ คุ้มครองตัวบ้าน